การก่อตั้งคณะ
คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองความต้องการและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพาณิชยนาวีทั้งระบบและเพื่อรองรับนโยบายเพิ่มเติมศักยภาพทางสมุทานุภาพ และการพาณิชยนาวีของประเทศ รวมทั้งผลิตบุคลากรทางการพาณิชยนาวีเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งความต้องการบุคลากรมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของการค้าทางทะเล โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อแรกเริ่มว่า “สถาบันพาณิชยนาวีนานาชาติ” และต่อมา สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนากิจการพาณิชยนาวี จึงได้ดำเนินการสืบเนื่องดังนี้
Timeline จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2543
- เริ่มก่อตั้ง โครงการสถาบันพาณิชยนาวีนานาชาติ
- จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
ปี พ.ศ. 2544
- ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ - เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
โดยสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ปี พ.ศ. 2545
- ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการประชุม ครั้งที่ 5/2545 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2545 และมติการประชุมของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2545 ให้จัดตั้ง สถาบันพาณิชยนาวีนานาชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปี พ.ศ. 2549
- สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกาศให้สถาบันพาณิชยนาวีนานาชาติ เป็น วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มีฐานะเทียบเท่าคณะสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2549
- เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ
- ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
แยกแขนงวิชา
- วิศวกรรมต่อเรือ
- วิศวกรรมนอกฝั่ง
(Offshore Engineering)
- วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
(ปฏิบัติงานบนเรือ)
ปี พ.ศ. 2555
- ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ
- ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ
ปี พ.ศ. 2557
- เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการขนส่งทางทะเล - ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557
ปี พ.ศ. 2560
- ปรับปรุงหลักสูตร วศ.บ. (วิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ)
แบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชา
- วิศวกรรมต่อเรือ
- วิศวกรรมเครื่องกลเรือ - ปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. (วิทยาศาสตร์การเดินเรือ)
ปี พ.ศ. 2561
- ปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. (การขนส่งทางทะเล)
ปี พ.ศ. 2565
- ปรับปรุงหลักสูตร วท.บ. (วิทยาศาสตร์การเดินเรือ)
- ปรับปรุงหลักสูตร วศ.บ. (วิศวกรรมต่อเรือและวิศวกรรมสมุทรศาสตร์)
- ปรับปรุงหลักสูตร วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกลเรือ)
เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ วิจัยและนวัตกรรม
ด้านพาณิชยนาวีแบบครบวงจร
ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบนโยบาย ในระยะเวลา 4 ปี ได้แก่
ด้านการศึกษา
มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการพาณิชยนาวี อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนิสิตทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ได้พัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น จัดหาอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรงสาขาให้เพียงพอและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ สนับสนุนแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนโยบายการบูรณาการหน่วยงานตามกลุ่มสาขาของสภามหาวิทยาลัย
ด้านการวิจัย
ส่งเสริมการวิจัยด้านการพาณิชยนาวีและนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาบูรณาการด้านการเรียนการสอน สนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากรสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการในระดับนานาชาติ สนับสนุนให้อาจารย์จดอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตร ส่งเสริมให้มีการจัดประชุมวิชาการในระดับนานาชาติด้านพาณิชนาวีเพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาความร่วมมือในระดับนานาชาติ แสวงหาแหล่งทุนและเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านการพาณิชยนาวี สนับสนุนแนวทางการบูรณาการด้านการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนโยบายการบูรณาการหน่วยงานตามกลุ่มสาขาของสภามหาวิทยาลัย
ด้านการบริการวิชาการ
ส่งเสริมการบริการวิชาการด้านการพาณิชยนาวี ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สร้างระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการวิชาการของคณะให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ สนับสนุนแนวทางการบูรณาการด้านการบริการวิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนโยบายการบูรณาการหน่วยงานตามกลุ่มสาขาของสภามหาวิทยาลัย
ด้านการบริหารจัดการ
บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลโดยเน้นความถูกต้อง รวดเร็ว และการมีส่วนร่วมของบุคลากร เพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนพัฒนาตนเองตามสายงาน ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คณะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สนับสนุนแนวทางการบูรณาการด้านการบริหารจัดการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามนโยบายการบูรณาการหน่วยงานตามกลุ่มสาขาของสภามหาวิทยาลัย
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม คุณธรรม และจริยธรรม
ส่งเสริมให้บุคลากรและนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีวินัยและมีอัตลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
พันธกิจคณะ
- จัดการศึกษาเพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและโลจิสติกส์ทางทะเล ที่มีคุณภาพในระดับสากล
- ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโลจิสติกส์ทางทะเลที่มีความเป็นเลิศในระดับโลก
- ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ทั้งในและต่างประเทศ
- อนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และจารีตประเพณีที่ดีงาม
- บริหารงานยึดหลักธรรมาภิบาล ระบบงานชัดเจน รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
พันธกิจมหาวิทยาลัย
- มุ่งสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อพัฒนาชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจบริการ และภาคธุรกิจการเกษตร ในภูมิภาคตะวันออก
- พัฒนาการดาเนินงานตามภารกิจ ด้านการเรียนการสอน และการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ให้มีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการวิทยาเขตให้มีศักยภาพ เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนาในภูมิภาคตะวันออก
วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ วิจัยและนวัตกรรม
ด้านพาณิชยนาวีแบบครบวงจร
อัตลักษณ์
ใส่ใจ มีวินัยรับผิดชอบ รอบรู้เป็นสากล
พากเพียร เรียนเป็นเลิศ (MARINE)
ปรัชญาปณิธาน
คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้
ระเบียบวินัยคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อนำไปใช้พัฒนากิจการพาณิชยนาวีของประเทศไทย
ค่านิยมองค์กร
K = Knowledge |
หมายถึง มีองค์ความรู้ |
---|---|
U = Universal Standard | หมายถึง มาตรฐานสากล |
I = Internationalization |
หมายถึง การเชื่อมโยงเครื่องข่ายความร่วมมือกับนานาชาติ |
M = Mastery | หมายถึง มีความเชี่ยวชาญ |
S = Social Responsibility for Sustainable Development | หมายถึง มีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
กลยุทธ์และเป้าประสงค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2570
การสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดินด้านการพาณิชยนาวี เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
1.1 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านพาณิชยนาวี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตร งานวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ
กลยุทธ์ :
1.1.1 สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพาณิชยนาวี พัฒนาหลักสูตรที่มีความทันสมัยและมีคุณภาพ
1.1.2 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนารายวิชาให้ทันสมัย
1.2 เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงบูรณาการศาสตร์ และส่งเสริมการบริการวิชาการเชิงรุก
กลยุทธ์ :
1.2.1 ส่งเสริมการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และภาคเอกชน
1.2.2 ร่วมส่งเสริมและพัฒนาวิทยาเขตให้ตอบสนองต่อนโยบายด้าน EEC และ BCG Model
1.2.3 ส่งเสริมการบริการวิชาการเชิงรุก พัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลสนับสนุนงานวิจัยและบริการ วิชาการ สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรม วิชาการ และการออกสื่อสาธารณะ และส่งเสริม Talent Mobility ผลักดันผลงานคณาจารย์และนิสิตสู่สังคม
1.3 เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา การเรียนการสอน ให้มีความยืดหยุ่น รองรับกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์ :
1.3.1 จัดทำสื่อการเรียนการสอนและเผยแพร่องค์ความรู้ออนไลน์ และสนับสนุนรายวิชาที่มีผู้สนใจจำนวนมากให้เข้าระบบ MOOC เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของวิถีการเรียนแบบใหม่และชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
1.3.2 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ จัด learning material ให้มีความหลากหลาย มุ่งเน้นให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติโดยใช้ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ฝึกเสมือนจริง สร้างประสบการณ์ทำงานที่แท้จริง จัดสร้างห้องเรียนแบบ Smart Classroom มีการนำ AI เข้ามาช่วย
1.4 เพื่อสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านพาณิขยนาวีอื่น ๆ
กลยุทธ์ :
1.4.1 ใช้ทรัพยากรร่วมกับสถาบันการศึกษา ด้านพาณิชยนาวีอื่นเพื่อสนับสนุนภารกิจคณะ
1.5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ :
1.5.1 ส่งเสริมการบริการวิชาการที่เน้นการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์
– เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านพาณิชยนาวี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตร งานวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ
– เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงบูรณาการศาสตร์ และส่งเสริมการบริการวิชาการเชิงรุก
– เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา การเรียนการสอน ให้มีความยืดหยุ่น รองรับกลุ่มเป้าหมาย
– เพื่อสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านพาณิขยนาวีอื่น ๆ
– เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมนมอย่างยั่งยืน
การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการพาณิชยนาวีในระดับสากล
2.1 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านพาณิชยนาวีที่สร้างมูลค่าและมีมาตรฐานในระดับสากล
กลยุทธ์ :
2.1.1 สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่จะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพาณิชยนาวี และส่งเสริมงานวิจัยที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ มุ่งเน้นการแปลงงานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์
2.1.2 แสวงหาแหล่งทุนและเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านพาณิชยนาวี
2.1.3 ใช้งานวิจัยชี้นำสังคม จัดให้มีระบบสนับสนุนงานวิจัย และส่งเสริมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ TCI และฐานข้อมูลระดับนานาชาติ SCOPUS
2.1.4 สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมในศาสตร์พาณิชยนาวีที่ตอบสนองต่ออนาคต ส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยและตีพิมพ์ผลงานวิชาการร่วมกันในวิทยาเขตศรีราชาเพื่อสร้างกลุ่มวิจัยที่มีความโดดเด่น
2.1.5 ส่งเสริมการจัดประชุมวิชาการในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างชื่อเสียงให้คณะเป็นที่รู้จัก
2.1.6 ส่งเสริมวารสารวิชาการ Maritime Technology and Research ของคณะพาณิชยนาวีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
2.1.7 มุ่งเพิ่ม H-index และการ Citation ของบุคลากรในคณะ เพื่อส่งเสริมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในภาพรวมต่ออันดับมหาวิทยาลัยโลก ผลักดันให้ตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ เพื่อเพิ่มเครือข่ายในการวิจัยและจำนวนครั้งในการอ้างอิง พร้อมทั้งสนับสนุนค่า Article Processing Charge (APC) ให้บุคลากรตีพิมพ์ในวารสารประเภท Open access ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล SCOPUS และอยู่ในกลุ่ม Q1 หรือ Q2
2.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและความพร้อม (Mobility) อาจารย์ บุคลากร และนิสิต สู่สากล
กลยุทธ์ :
2.2.1 ส่งเสริมให้นำเสนอผลงานและตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ และจัดให้มีนักวิจัยพี่เลี้ยงสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่
2.2.2 เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิต จัดระบบสนับสนุน เสนอรางวัลเพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมให้คณาจารย์ทำงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ
2.2.3 เชิญอาจารย์ชาวต่างชาติทำการสอนออนไลน์ รวมทั้งเพิ่มบุคลากรระดับหลังปริญญาเอก (Post-Doctoral) เพื่อเร่งผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับสถาบันต่างประเทศเพื่อเพิ่มประสบการณ์และผลิตผลงานคุณภาพระดับสากล
2.2.4 สนับสนุนให้นิสิตมีความพร้อมภาษาต่างประเทศ
2.2.5 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนิสิตในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง พัฒนานิสิตให้มีความพร้อมในการไปเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนล่วงหน้า สร้างทีมคณาจารย์และนิสิตที่พร้อมรับรองนิสิตแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษา
2.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking) ทางวิชาการและงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ
กลยุทธ์ :
2.3.1 ส่งเสริมพันธมิตรทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยจับมือพันธมิตรสร้างบริการใหม่ๆ และสานต่อความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่มีผลสำเร็จชัดเจน
เป้าประสงค์
– พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านพาณิชยนาวีที่สร้างมูลค่าและมีมาตรฐานในระดับสากล
– เพื่อพัฒนาศักยภาพและความพร้อม (Mobility) อาจารย์ บุคลากร และนิสิต สู่สากล
– สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking) ทางวิชาการและงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ
การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดําเนินงานตามภารกิจบนหลักธรรมาภิบาล
3.1 เพื่อพัฒนาการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบ สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร
กลยุทธ์ :
3.1.1 พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลเพื่อการบริหารจัดการ การมอบหมายภาระงาน และการประเมินบุคลากรอย่างเป็นธรรมและเป็นระบบ สามารถวัดผลได้ ให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมและรับทราบข้อมูล รวมทั้งสร้าง Well-being การทำงานอย่างมีความสุข
3.1.2 พัฒนาความสอดคล้องและความเชื่อมโยงกระบวนการทำงานแต่ละภารกิจทั้งระบบ วางแผนงานร่วมกันในภารกิจที่มีความเกี่ยวข้องกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน
3.1.3 วางระบบการบริหารจัดการศูนย์ Maritime Testing and Training Center คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ ให้สามารถสร้างรายได้ รองรับการบริการวิชาการเชิงรุก จัดระบบสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้หัวหน้าโครงการบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 สร้างวัฒนธรรมองค์กรและการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจให้กับบุคลากรและนิสิต
3.1.5 สนับสนุนวิทยาเขตและมหาวิทยาลัยให้พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 6 ด้าน ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ.2560-2571)
3.1.6 เสริมทักษะด้านภาษา สมรรถนะทางดิจิทัล และการพัฒนานวัตกรรม ให้แก่ อาจารย์ บุคลากร และนิสิต
3.1.7 สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนและนิสิตเข้ามาศึกษาในคณะ เช่น โครงการเรียนล่วงหน้า การแนะแนวและประชาสัมพันธ์เชิงรุก ตอบสนองความต้องการของเด็กรุ่นใหม่โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมให้ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมีส่วนร่วมในการเป็นบัณฑิตต้นแบบ เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กร มอบทุนการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของนิสิต และมอบทุนสนับสนุนให้รุ่นพี่ไปแนะแนวรุ่นน้องที่สถานศึกษา
3.1.8 เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ ผู้ใหญ่ และ คนทำงาน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งระบบ Non degree ธนาคารหน่วยกิต และ GSPP
3.1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานทั้งระบบให้สอดคล้องกับแผนการทำ Digital Transformation ของวิทยาเขตศรีราชา
3.2 เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหาร การจัดการ และกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร
กลยุทธ์ :
3.2.1 ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทุกมิติ เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร พร้อมทั้งพัฒนาผู้บริหารทุกระดับเข้าสู่ความเป็นธรรมาภิบาล
3.2.2 จัดทำระบบการเงินและการบัญชี การบริหารงบประมาณ ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3.2.3 การบริหารงานมุ่งสู่ความเป็นเลิศและการขับเคลื่อน EdPex อย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
3.2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรให้มีความก้าวหน้าตามสายงานอย่างจริงจัง สร้างแรงจูงใจและให้รางวัลคนทำงาน
3.2.5 สร้างความสามัคคีและรักองค์กร ผสานความร่วมมือ สื่อสารกันให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
เป้าประสงค์
– เพื่อพัฒนาการบริหารองค์กรอย่างเป็นระบบ สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร
– เพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหาร การจัดการ และกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร
การบูรณาการศาสตร์สุขภาพ เพื่อสุขภาวะที่ดีของบุคลากรพาณิชยนาวีและสังคม
4.1 เพื่อพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
กลยุทธ์ :
4.1.1 ส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
เป้าประสงค์
– เพื่อพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี
การเพิ่มศักยภาพในการบริหารและจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
5.1 เพื่อยกระดับระบบการบริหาร การจัดการ และการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถสร้างนวัตกรรมจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ :
5.1.1 บริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนานิสิตและบุคลากรอย่างเป็นระบบ ทำแผนการใช้จ่ายเงินจากกองทุนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี
5.1.2 พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เช่น รายได้จากนวัตกรรม
5.1.3 จัดทำแผนการจัดหารายได้ สร้างรายได้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อสร้างรายได้ วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อบริหารรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ และวางแผนการจัดการศึกษาแบบลดต้นทุนและลดการใช้ทรัพยากร
5.1.4 การบริหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤตอย่างฉับพลัน
5.1.5 ปรับภาพลักษณ์ใหม่ (Rebranding) พัฒนาคณะพาณิชยนาวีนานาชาติโดย มุ่งสร้างคน งานวิจัยและนวัตกรรมด้านพาณิชยนาวีสู่สากลเพื่อความยั่งยืน
5.1.6 พัฒนาระบบสารสนเทศงานกายภาพและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหาร
เป้าประสงค์
– เพื่อยกระดับระบบการบริหาร การจัดการ และการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถสร้างนวัตกรรม จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง