คณะพาณิชยนาวีนานาชาติเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับTokyo University of Marine Science and Technology ณ ประเทศญี่ปุ่น

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรินยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณบดีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณศักดิ์ เอี่ยมรักษา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานิสิต อาจารย์ศลิษา วังทอง หัวหน้าภาควิชาวิทยาการเดินเรือและโลจิสติกส์ทางทะเล และ ดร.ปัณณรัตน์ ศิริโชคโภคิน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการขนส่งทางทะเล

ได้เข้าพบ Dr. SHIN-ICHI MOTODA คณบดีของ Faculty of Marine Technology แห่ง Tokyo University of Marine Science and Technology ประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือความร่วมมือระหว่างสองคณะ และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือต่อไป

โดยคณบดี Motoda ให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำหลักสูตรร่วมสองปริญญาระหว่างทั้ง 2 คณะในอนาคต
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก Professor Tadatsugi Okazaki จาก Department of Marine System Engineering ได้นำผู้แทนคณะพาณิชยนาวีนานาชาติเยี่ยมชม Centennial Museum ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2518 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้ง Tokyo University of Mercantile Marine ซึ่งเป็นต้นแบบของ Tokyo University of Marine Science and Technology พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมและจัดแสดงเอกสารและสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ 100 ปีของมหาวิทยาลัย ตลอดจนประวัติศาสตร์ทางทะเลของญี่ปุ่น เอกสารและสื่อเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเดินเรือ

หลังจากนั้นได้นำคณะฯ เข้าเยี่ยมชมเรือ Meiji-maru ซึ่งสร้างขึ้นในอังกฤษเมื่อปี 1874 เป็นเรือเหล็กลำเดียวในญี่ปุ่น โดยในปี 1875 เมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรในหมู่เกาะโอกาซาวาระ เรือที่บรรทุกคณะสอบสวนเรื่องดังกล่าวไปถึงหมู่เกาะก่อนเรือที่สหราชอาณาจักรส่งมา จึงทำให้ญี่ปุ่นประกาศให้หมู่เกาะเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของตน นอกจากนี้ ในปี 1876 จักรพรรดิเมจิทรงล่องเรือเมจิมารุจากอาโอโมริไปยังโยโกฮามาผ่านฮาโกดาเตะ เมื่อจักรพรรดิเมจิเสด็จกลับมายังท่าเรือโยโกฮามา ในปี 1896 เรือลำนี้ได้ถูกโอนไปยังวิทยาลัยการเดินเรือโตเกียว และถูกใช้เป็นเรือฝึกเป็นเวลากว่า 50 ปี ในฐานะมรดกล้ำค่าที่แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการต่อเรือในยุคเรือเหล็ก เรือ Meiji-maru ได้รับการกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม 1978

และทาง Professor Tadatsugi Okazaki ได้นำคณะเยี่ยมชมห้องจำลองสะพานเดินเรือ ที่ทางมหาวิทยาลัยพัฒนาร่วมกันกับบริษัท NYK สำหรับใช้ในการฝึกจำลองสะพานเดินเรือตามสถานการณ์ต่างๆ

อีกทั้งยังได้ไปเยี่ยมและติดตามการเรียนของศิษย์เก่าคณะพาณิชยนาวีนานาชาติสาขาวิทยาศาสตร์การเดินเรือทั้ง 3คน ที่ห้องปฏิบัติการของนิสิตระดับปริญญาโท และ โท-เอก ที่อยู่ในความดูแลของ Professor Tadatsugi Okazaki ซึ่งเป็น Specialist ในด้าน Autonomous Berthing (การเทียบเรืออัตโนมัติ) ในปัจจุบัน Professor Okazaki เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับศิษย์เก่าจากคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ ได้รับทุนการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น หรือทุน MEXTจำนวน 3 คน ที่ ได้แก่

1. นายกฤษฎา ดะราศิริ
2. นายนนทชา วงษ์ระกา
3. นายธวัชชัย เอ็นดู

โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมที่เป็น Specialist ทางด้าน Collision avoidance ซึ่งศิษย์เก่าสาขาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ กำลังศึกษาในด้าน Autonomous Berthing และด้าน Collision avoidance support system

นอกจากนี้ ที่มหาวิทยาลัย TUMSAT ยังมีศิษย์เก่า สาขาการขนส่งทางทะเล ที่ได้รับทุน MEXT มาศึกษาในด้าน Logistics Engineering จำนวน 3 คน ซึ่งอยู่ในการดูแลของ Professor Watanabe โดยกำลังศึกษาในด้าน Carbon neutrality ได้แก่

1. นางสาวภิรญา จินดารัตน์
2. นางสาวปรียานุช เปรมสมาน
3. นางสาวอิสริยา แซ่เล้า